วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ส่งงาน แสง สี เงา ความสมดุลความแตกต่าง หลักใช้สีในงานกราฟฟกิส์

นางสาววิชุดา  ปรากฎ 

เลขที่  20  พณ.3/11

ภาพแสงและเงา เป็นภาพที่เกิดจากการนำเอาแสงและเงามาประกอบภาพโดยวางตำแหน่งของแสงและเงาให้มีความสมดุลกัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดภาพที่สวยงามได้
                                            
                                                                         ที่มาภาพ


          แสงช่วยทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ  ได้อย่างชัดเจน  นอกจากนั้น  แสงยังทำให้เกิดเงาของวัตถุ  ซึ่งเงานี้ จะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  
           ทั้ง แสงและเงา  ช่วยทำให้เกิดระยะ  ความตื้นลึกของภาพ  ในการเขียนภาพระบายสี  เราสามารถใช้ สีต่าง ๆ แสดงแสงและเงาได้


                                                   
                                                                           ที่มาภาพ   


           ดังนั้น แสงและเงาและสี จึงเป็น องค์ประกอบสำคัญของการเขียนภาพระบายสี ส่วนของวัตถุที่ไม่ถูกแสงจะมืด
 เรียกว่า  เงามืดของวัตถุ  และ เงาของวัตถุที่ตกลงยังพื้น  เรียกว่า  เงาตกทอด 

                                                    
                                                                          ที่มาภาพ
        
             เงาตกทอด  จะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น ๆ  เช่น  วัตถุรูปสี่เหลี่ยม  เงาตกทอดก็เป็นสี่เหลี่ยม  เหมือนรูปร่างของวัตถุนั้น  ๆ  เงาจะชัดหรือไม่ชัดอยู่ที่แสง  ถ้าแสงสว่างจัด เงาก็จะชัด  ถ้าแสงสว่างน้อย เงาก็ไม่ชัด

                                              

                                                                      ที่มาภาพ     

           แสงที่ส่องมายังวัตถุมีด้วยกัน  2   ชนิด  คือ  แสงจากดวงอาทิตย์ และ  แสงจากดวงไฟ  แสงที่ส่งจากดวงอาทิตย์จะส่องเป็นเส้นขนาน   ส่วนแสงที่ส่องมาจากดวงไฟจะเป็นแสงกระจายรอบตัวเป็นรัศมี

                                          
                                                                          ที่มาภาพ  

            ในการเขียนภาพระบายสี สิ่งต่าง ๆ  นั้น  จำเป็นต้องมี แสงและเงา ด้วยเสมอ  เพื่อให้ภาพนั้นเหมือนจริงตามธรรมชาติ วัตถุด้านที่ถูกแสงจะสว่างการระบายสีต้องใช้สีอ่อน    วัตถุด้านที่ไม่ถูกแสงจะมืด  เรียกว่า  เงามืด  การระบายสี  ต้องใช้สีแก่  

         ถ้าวัตถุนั้นกลม ก็จะต้องระบายสีจากอ่อนไปหาแก่  ส่วนเงาของ วัตถุ ที่เรียกว่า  เงาตกทอด  ต้องระบายสีเข้ม  เงาตกทอด จะสั้นหรือยาวนั้น  อยู่ที่ความสูงของแสงจากดวงอาทิตย์ ถ้าในตอนเช้าหรือเย็น  เงาตกทอดก็จะยาวดวงอาทิตย์สูงขึ้น  เงาตกทอดก็จะสั้นลง  ในเวลาเที่ยง  เงาตกทอดจะมีน้อยที่สุด

                                          
                                                                         ที่มาภาพ

           ความงดงามของภาพแสงและเงา  เกิดจากการจัดวางวัตถุให้ได้รับแสงที่พอเหมาะ  และอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงพอสมควร
           ดังนั้น  การเขียนภาพแสงและเงาที่ดี  ต้องแสดงน้ำหนักของแสงและเงาให้เหมาะสมได้สัดส่วน

       
วิธีเขียนภาพแสงและเงาให้สวยงาม

         1.  วาดภาพลายเส้นของภาพถ่ายหรือภาพต้นแบบ

                                              
                                                                                ที่มาภาพ


          2.   เขียนน้ำหนักแสงและเงาตามที่เห็นจากภาพต้นแบบ  โดยไล่น้ำหนักจากอ่อนไปเข้ม  ดังนี้
                          1)  ส่วนที่เป็นแสงสว่างของภาพหรือส่วนที่โดนแสง   ให้เขียนเส้นหรือแรเงาเบาบาง
                          2)  ส่วนที่เป็นเงามืดของภาพ  ให้เขียนเส้นหรือแรเงาเข้มตามลำดับ

          3.  เขียนเงาของภาพให้ทอดนอนไปกับพื้นตามแนวการส่องของแสงโดยเงาต้องมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับภาพต้นแบบ
                                            
สร้างงานกราฟฟิกและตกแต่งภาพด้วย Photoshop CS3 พิมพ์ อีเมล
pho1
เปิดอบรมหลักสูตร Photoshop CS3
สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการตกแต่งรูปภาพ
หรือผู้ที่ทำงานด้านกราฟฟิกดีไซน์โดยตรง เช่น เว็บดีไซน์เนอร์ กราฟฟิกดีไซน์เนอร์
รวมถึงงานตกแต่งรูปภาพของร้านป้ายโฆษณา โรงพิมพ์ งานนิตยสาร สตูดิโอ ฯลฯ

pho2
เรียนรู้โปรแกรม Adobe Photoshop CS3 โปรแกรมตกแต่งรูปภาพที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก
เทคนิคการนำภาพดิจิตอลเข้าสู่โปรแกรม การทำภาพพาโนรามา
เทคนิคการตกแต่งภาพอย่างมืออาชีพด้วยลูกเล่นต่างๆ การใส่เอฟเฟกซ์ สี แสง เงา
การใช้เครื่องมือต่างๆ ใน Photoshop เช่น การซ่อมแซมรูปภาพ การตัดต่อรูปภาพ การรีทัช
เทคนิคการทำภาพเคลื่อนไหวแบบอนิเมชั่น gif
เทคนิคการ save งานเพื่อนำไปใช้ออกแบบเว็บไซด์
พิเศษ เทคนิคการทำ photo gallery สร้างเว็บไซด์
กระชับ ครอบคลุม ใช้งานได้จริง พร้อม workshop ฝึกการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ

แนะแนว หลักสูตร สร้างงานกราฟฟิกและตกแต่งภาพด้วย Photoshop CS3

เหมาะสำหรับ arrow ผู้ ที่ต้องการเรียนการตกแต่งรูปภาพอย่างละเอียด ประยุกต์ได้กับงานสิ่งพิมพ์ , งานโฟโต้หรือภาพถ่าย , งานเว็บไซด์ , งานกราฟฟิกดีไซน์ทุกชนิดโดยเฉพาะงานที่ต้องการแก้ไขหรือรีทัชภาพ
ข้อแนะนำ arrow ควรใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้คล่อง
เวลาเรียน arrow 15 ชม. เรียนวันละ 5 ชม.
ค่าอบรม arrow 2,500 บาท
พิเศษ arrow สามารถเรียนต่อเนื่อง 3 วัน หรือเว้นช่วงตามเวลาว่างของผู้เรียนได้


ps-cs3-extended
  


รู้จักกับโปรแกรม Adobe Photoshop CS3
โปรแกรมตกแต่งรูปภาพที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

 wall1


ส่วนประกอบโปรแกรม และการจัดหน้าจอโปรแกรม
เปิดโปรแกรม ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม
ไดเติ้ลบาร์ (Title Bar) และเมนูหลัก (Menu Bar)
ทูลบ็อกซ์ (Tool Box) ออปชั่นบาร์ (Option Bar) แถบสถานะ (Status Bar)
พาเล็ต (Palette) การเรียใช้ Workspace

การใช้งานเครื่องมือพื้นฐาน
การเปิด สร้าง การบันทึกไฟล์
ย่อ ขยาย ด้วยพาเล็ต Navigator
การใช้ไม้บรรทัด การใช้เส้น Guide Grid
การย้อนการทำงานด้วยพาเล็ต Histoty
การใช้งาน Snapshot

คุณสมบัติของภาพกราฟฟิกและการนำมาใช้
ประเภทของภาพ Bitmap Vector
การปรับขนาดภาพ แบบ Document และ Resolution
การเพิ่ม ลดขนาดพื้นที่ภาพด้วย Canvas Size
การใช้เครื่องมือ Crop ในการตัดขอบภาพ,
บิดภาพ,ตัดขอบตามแนว selection,ตัดภาพจากการสแกน
การหมุนภาพด้วย Rotate Canvas

การเลือกพื้นที่บนภาพ (Selection & Mask)
เครื่องมือต่างๆ ในกลุ่ม Selection
Marquee Lasso Magic Wand Quick selection Quick mask
ย้าย ปรับขนาด หมุน แต่งขอบ Selection
บันทึกและเรียกใช้Selection
แยกวัตถุออกจากฉากหลังด้วย Magic Eraser & 
Background Eraser
ps3-tool
ซ้อนภาพและปรับแต่งภาพด้วยเลเยอร์
รู้จักกับพาเล็ต Layers การปรับขนาดไอคอนเลเยอร์
การแปลงเลเยอร์ Background
การสร้าง การลบ เปลี่ยนชื่อ ก๊อปปี้ เชื่อมโยง จัดเรียง จัดระยะห่าง ล็อค จัดกลุ่ม
การปรับความทึบ ผสมสี Blend Mode
ตกแต่งเลเยอร์ด้วย Layer Style
การใช้เลเยอร์เอฟเฟ็กซ์สำเร็จรูปและเลเยอร์ไลบรารี่
เทคนิคการบังภาพด้วย Layer Mask
การบังภาพด้วย Clipping Mask
รู้จัก Fill Layer และ Adjusment Layer
การใช้งาน Smart Object ที่มีเฉพาะ CS3

wall2
ปรับแต่งรูปทรงของภาพ (Transform)
การปรับรูปทรงของภาพด้วยคำสั่งกลุ่ม Transform
การปรับขนาด การหมุน พลิกกลับ แบบอิสระ
Scale Rotate Skew Distort Perspective Wrap
เทคนิคการใช้ Bounding Box
การปรับโดยใช้ Option Bar
การกำหนดจุดหมุน ตำแหน่ง ขนาด องศา
การบิดและดึงภาพอย่างอิสระ

การวาดและระบายสีภาพ
กลุ่มเครื่องมือต่างๆ Brush / Pencil / Stamp / History / Eraser / Gradient / Paint
ออปชั่นของพาเล็ตเครื่องมือต่างๆ
การจัดการ Library Pattern Fill Stroke

วาดและตกแต่งสีภาพแบบเวคเตอร์ (Vector)
กลุ่มเครื่องมือวาดภาพแบบเวคเตอร์
ส่วนประกอบของเส้นพาธ
เทคนิคการวาดเส้นพาธแบบต่างๆ
การใช้เครื่องมือกลุ่ม Pen
การเพิ่มและลบจุด Anchor
เทคนิคการปรับ ย้าย ก๊อปปี้ ลบ เปลี่ยนส่วนโค้งเป็นมุม
การใช้เครื่องมือกลุ่ม Shape
สร้างและจัดการรูปทรงสำเร็จรูป
การใช้งานพาเล็ตพาธ
การเปลี่ยนพาธเป็น Selection

แต่งภาพด้วยตัวอักษรและข้อความ
ประเภทและเครื่องมือที่ใช้ในกลุ่ม Type
ข้อความแบบ Type Layer และข้อความแบบ Type Selection
ออปชั่นสำหรับการจัดตัวอักษรแบบต่างๆ
การปรับแต่งรูปแบบตัวอักษร
เทคนิคการพิมพ์ข้อความแนวโค้งตามแนวเส้นพาธ
การปรับตำแหน่ง การพลิกกลับ การพิมพ์ Type in Shape
เทคนิคการนำฟอนต์สวยๆ เข้ามาใช้ในเครื่อง

การปรับแต่งสีและแสงเงา
รู้จักกับ Histogram
Level / Curves / Brightness / Color Balance / Black&White / Hue
Eye Dropper / Match / Gradient Map / Photo Filter
Shadow / Exposure / Equalize / Invert / Threshold
ปรับแต่งแสงเงาด้วย Variations

สร้างเอฟเฟ็กซ์พิเศษด้วยพิลเตอร์
การใช้ไดอะล็อกบ๊อกซ์ของฟิลเตอร์
คุณสมบัติของฟิลเตอร์กลุ่มต่างๆ
Blur / Faussian Radail Motion Shape Smart Surface
Unsharp / Add Noise / DustScratches / Displace / Lighting Effects
การใช้ Filter Gallery

การตกแต่งและรีทัชภาพ
กลุ่มเครื่องมือตกแต่งภาพ
ลบรอยตำหนิ แก้ไขตาแดง ทำภาพให้เบลอหรือคมชัด การป้ายสี
ปรับความสว่างขึ้นหรือมืดลง
เพิ่ม ลด ความสดของสี
การใช้เครื่องมือ Liquify ปรับแต่งภาพ
การเพิ่มส่วนโค้ง ส่วนเว้าของนางแบบ

เทคนิคการสร้างภาพเพื่อทำเป็นเว็บเพจ
รู้จักคุณสมบัติของภาพ JPG , GIF , PNG , WBMP
การบันทึกภาพเพื่อใช้กับเว็บเพจ
การกำหนดคุณสมบัติของภาพก่อนการบันทึก
การใช้เครื่องมือ Slice
การเลือก ย้าย ปรับขนาดและลบ Slice

เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหว
การใช้งานพาเล็ต Animation
การสร้างภาพเคลื่อนไหวทีละเฟรม
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคำสั่งทวีน
การปรับแต่งภาพเคลื่อนไหวโดยเลเยอร์ต้นแบบ

เทคนิคการสร้างแคตตาล็อกภาพตัวอย่าง
เทคนิคการสร้างอัลบั้มภาพสำหรับเว็บไซด์


การแรเงา  คือ การสร้างรอยดินสอ ปากกาหรืออื่นๆ ด้วยการควบคุมน้ำหนักผ่อนหนักเบาในการ ขีด เขียน เกลี่ย ปาด ทับ ไขว้ และใช้รอยเหล่านี้สร้างน้ำหนักให้เกิดลักษณะผิวของธรรมชาติ หรือหุ่นที่ใช้ในการเขียน การแรเงาจึงเป็นการสร้างความเข้มด้วยระยะต่างๆ ในรูปทรงของงานชิ้นหนึ่งๆ เมื่อใช้ตามลักษณะแสงเงาจะทำให้เกิดมิติของมวลสารและระยะ หรือปริมาณมาตรของรูปทรง น้ำหนักที่ไล่เรียงจากอ่อนไปหาแก่อย่างสม่ำเสมอนี้ เรียกว่า ค่า (VALUE) ของสีหรือน้ำหนักที่ระบายเป็นระยะอ่อน กลาง แก่ ค่าของระยะอ่อนแก่เหล่านี้นิยมเรียกกันว่า น้ำหนัก
     การแรเงาน้ำหนักจึงเป็นการสร้างเงาในภาพ ให้ดูมีความลึกมีระยะใกล้ไกลและดูมีปริมาตร เปลี่ยนค่าของรูปร่างที่มีเพียง 2 มิติให้เป็น 3 มิติ ทำให้รูปร่างที่มีเพียงความกว้าง-ยาวเปลี่ยนค่าเป็นรูปทรงมีความตื้นลึกหนา บางเกิดขึ้น ความตื้นลึกหนาบางนี่เป็นความรู้สึกเท่านั้น และการทำให้เกิดภาพเช่นนี้ก็คือ เทคนิคในการสร้างภาพลวงตา (ILLUSION) เป็นวิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างหนึ่ง
     น้ำหนักในการวาดเขียนจึงมีความหมายดังนี้
1.  บริเวณมืดและสว่างขององค์ประกอบต่างๆ ในภาพเขียน
2.  แสดงความอ่อนแก่ระดับต่างๆ จากดำมาขาวให้แก่รูปทรงที่มีอยู่ในภาพ นัยหนึ่งคือ      ทำหน้าที่แสงเงาให้แก่รูปทรง
     ลักษณะของน้ำหนัก จะเป็นดังนี้
1.  มี 2 มิติ คือ กว้างกับยาว
2.  มีทิศทาง
3.  มีความยาว ความสั้น ความโค้ง หรือเป็นคลื่น ฯลฯ
4.  มีรูปร่าง กลม เหลี่ยม หรืออิสระตามลักษณะของรูปทรง
5.  มีความอ่อน แก่ และลักษณะผิวต่างๆ ตามแบบหรือหุ่นที่วาด

     หน้าที่ของน้ำหนัก ในการวาดเขียนจำแนกออกได้ ดังนี้

1.  ให้ความแตกต่างระหว่างรูปทรงกับพื้นที่ หรือรูปทรงกับที่ว่าง
2.  ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวต่อการนำสายตาผู้ดู บริเวณที่น้ำหนักตัดกันจะดึงดูดความสนใจ      ถ้าตัดกันหลายแห่งจะนำสายตาให้เคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณ หนึ่ง      ทั้งนี้จะเป็นไปตามจังหวะที่ผู้เขียนกำหนดไว้นั่นเอง ซึ่งอาจกลมกลืนหรือตัดกันอย่างรุนแรง
3.  ให้ความเป็น 2 มิติ หรือ 3 มิติแก่รูปทรง
4.  ให้ความรู้สึกในภาพ ด้วยการประสานกันของน้ำหนัก
5.  ให้ความลึกแก่ภาพ
      แนวคิดในการแรเงาน้ำหนัก
     เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ เพราะอาศัยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ หรือต้นแสงจากแหล่งกำเนิดอื่น เมื่อมีแสงสว่างก็ต้องมีเงาควบอยู่ด้วย และแสงเงาทำให้เรามองเห็นวัตถุที่ผิวสีเดียวกันมีน้ำหนักแตกต่างกัน เช่น วัตถุสีขาวส่วนที่ถูกแสงจะเป็นสีขาวสว่างจ้า แต่ส่วนที่ไม่ถูกแสงจะขาวหม่น ทั้งที่วัตถุนั้นก็เป็นสีขาวเท่ากันตลอดพื้นผิว
     เมื่อธรรมชาติของแสงเงาให้ผลที่มองเห็นเช่นนี้ ผู้เขียนจำต้องเข้าใจการจัดน้ำหนักอ่อนแก่ให้ได้ใกล้เคียงกับน้ำหนักของแสง ที่ตกกระทบผิววัตถุ เพราะความแตกต่างของน้ำหนักทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันไปได้ เช่น น้ำหนักสีที่อ่อนให้ความรู้สึกเบา น้ำหนักสีที่แก่ทำให้ดูแล้วรู้สึกหนัก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดระยะต่างๆ ในการมองเห็น ตลอดจนความรู้สึกด้านความงามในทางศิลปะ
เทคนิคการแรเงาน้ำหนักที่นิยมใช้กัน

1.  ให้แสงเข้าทางด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นเงา เป็นวิธีการที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนจริงทั่วไป
2.  ให้แสงเข้าตรงหน้า ส่วนที่อยู่ใกล้จะมีน้ำหนักอ่อน ส่วนที่อยู่ไกลจะมีน้ำหนักแก่ น้ำหนักที่ใช้ในวิธีนี้เรียกว่า จิอารอสคูโร (CHIAROSCURO) เป็นภาษาอิตาเลียน แปลว่า ความสว่างและความมืด อันต่างไปจากการให้ปริมาตรของรูปทรงด้วยการให้แสงเงาทั่วไป
3.  กำหนดให้แสงขึ้นจากจุดกลางภาพ ส่วนมากจะใช้แสงเทียนหรือแสงไฟฟ้า
4.  ให้แสงเกิดขึ้นในจุดที่ต้องการ ส่วนอื่นให้อยู่ในเงามืด
5.  ให้แสงกระจายเลื่อนไหลไปทั่วภาพ เน้นความใกล้ ไกล ลึก ตื้นด้วยบรรยากาศของน้ำหนักจนเกือบไม่คำนึงถึงปริมาตรของรูปทรง
6.  ให้น้ำหนักอ่อนทั้งรูปและพื้น ไม่เน้นปริมาตรของรูปทรง แต่เน้นความสว่างของแสงให้จ้า ไม่มีเงา
7.  ให้แสงเต้นระริกกระจายไปทั่วๆ ภาพ

ลักษณะของแสงเงาที่ใช้ในการวาดเขียนแบ่งออกเป็น 6 ค่า

1.  แสงสว่างที่สุด (HIGH LIGHT) เป็นบริเวณที่วัตถุกระทบแสงโดยตรง ทำให้ส่วนนั้นมีน้ำหนักอ่อนที่สุด ถ้าวัตถุเป็นสีขาวบริเวณนั้นจะปล่อยว่าง ไม่ต้องลงเงาก็ได้
2.  แสงสว่าง (LIGHT) เป็นบริเวณที่ไม่ถูกแสงโดยตรง แต่มีบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากแสง การลงน้ำหนักบริเวณนี้ต้องให้อ่อนจางแต่แก่กว่าบริเวณแสงสว่างที่สดุดเล็ก น้อย
3.  แสงสะท้อน (REFLECTED LIGHT) เป็นบริเวณของวัตถุที่ไม่ได้กระทบแสงโดยตรง หากอยู่ในตำแหน่งที่เป็นเงาแต่ถูกแสงสะท้อนจากวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ กันมากระทบ น้ำหนักของบริเวณนี้จะอ่อนกว่าบริเวณที่เป็นเงา ค่าของแสงสะท้อนจะให้ความรู้สึกในภาพมีมิติ มีมวลสาร มีชีวิตชีวา ดูเหมือนมีอากาศอยู่รอบๆ
4.  เงา (DARK) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแสงน้อยมาก ซึ่งเงาบริเวณนี้จะต้องแรเงาให้มีน้ำหนักเข้มกว่าบริเวณแสงสว่างพอประมาณ พอที่จะแยกแสงและเงาออกจากกันได้
5.  เงามืด (DARKEST) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงจึงต้องแรเงาด้วยน้ำหนักที่เข้มกว่าบริเวณอื่นๆ ทั้งหมดของวัตถุ
6.  เงาตกทอด (CAST SHADOW) เป็นบริเวณที่เงาของวัตถุนั้นๆ ทอดไปตามพื้นที่รองรับวัตถุ โดยจะมีน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน ขนาดและรูปร่างของเงาตกทอดจะขึ้นอยู่กับทิศทางของแสง รูปร่างของวัตถุและพื้น

เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก

     เมื่อตรวจแก้ไขข้อบกพร่องของภาพร่างดีแล้ว และเป็นภาพร่างที่พร้อมจะแรเงาน้ำหนักการกำหนดแสงเงาบนวัตถุในภาพร่างซึ่งมี รูปทรงต่างๆ นั้น อาจลำดับขั้นตอนของกระบวนการได้ ดังนี้
1.  หรี่ตาดูวัตถุที่เป็นหุ่น กำหนดพื้นที่แบ่งส่วนระหว่างแสงเงาออกจากกันให้ชัดเจนด้วยเส้นร่างเบาๆบนรูป ทรงของภาพร่างที่วาดไว้นั้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคร่าวๆ คือ แสงกับเงาเท่านั้น
2.  แรเงาน้ำหนักในส่วนพื้นที่ที่เป็นเงาทั้งหมด ด้วยน้ำหนักเบาที่สุดของเงาที่ตกทอดบนวัตถุ และเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นแสงไว้
3.  พิจารณาเปรียบเทียบน้ำหนักที่เบาที่สุดกับน้ำหนักที่เข้มในส่วนขึ้นอีก เท่าใด แล้วแบ่งน้ำหนักเงาที่อ่อนกับเงาที่เข้มขึ้นด้วยวิธีร่างเส้นแบ่งพื้นที่ เบาๆ เช่นกันกับข้อ 1 จากนี้ก็แรเงาเพิ่มน้ำหนักในส่วนที่เข้มขึ้น ตลอดเวลาจะต้องเปรียบเทียบน้ำหนักของเงาที่ลงใหม่กับเงาอ่อนและแสงที่เว้น ไว้อยู่เสมอเพื่อให้การแรเงาน้ำหนักได้ใกล้เคียงความเป็นจริง การแรเงาน้ำหนักต้องลงรวมๆ ไปทีละน้ำหนัก จะทำให้คุมน้ำหนักได้ง่าย
4.  การแรเงาน้ำหนักที่เข้มขึ้นจะใช้วิธีการเดียวกับข้อ 1 และข้อ 3 จนครบกระบวนการจะทำให้ได้ภาพที่มีน้ำหนักแสงเงาใกล้เคียงกับความเป็นจริงจาก นั้นเกลี่ยน้ำหนักที่แบ่งไว้ในเบื้องต้นให้ประสานกลมกลืนกัน
5.  พิจารณาในส่วนของแสงที่เว้นไว้ จะเห็นว่ามีน้ำหนักอ่อนแก่เช่นเดียวกับในส่วนของเงาต้องใช้ดินสอลงน้ำหนัก แผ่วๆ ในส่วนของแสงที่เว้นไว้ เพื่อให้รายละเอียดของแสงเงามีน้ำหนักที่สมบูรณ์
6.  เงาตกทอด ใช้หลักการเดียวกับการแรเงาน้ำหนักบนวัตถุที่กล่าวมาแล้ว แต่ต้องสังเกตทิศทางของแสงประกอบการเขียนแสงในการวาดเขียนปกติจะใช้ประมาณ 45 องศา กับพื้น แต่มีข้อสังเกต คือ ถ้าแสงมาจากมุมที่สูง จะเห็นเงาตกทอดสั้น ถ้าแสงมาจากมุมที่ต่ำลง เงาตกทอดจะยาวขึ้นในส่วนน้ำหนักของเงาตกทอดเองก็จะมีน้ำหนักอ่อนแก่เช่น เดียวกับแสงเงาบนวัตถุคือเงาที่อยู่ใกล้วัตถุจะมีความเข้มกว่าเงาที่ทอดห่าง ตัววัตถุสาเหตุมาจากแสงสะท้อนรอบๆ ตัววัตถุที่สะท้อนเข้ามาลบเงาให้จางลง

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น